คุณลักษณะของมอเตอร์เหนี่ยวนำ (Induction Motor) ของ GGM
- Induction Motor แบ่งประเภทออกเป็น มอเตอร์ ๑ เฟส และ มอเตอร์ ๓ เฟสตามแหล่งกำเนิดของพลังงานมอเตอร์เหล่านี้ไม่เพียงใช้ขดลวดช่วยและคอนเดนเซอร์ ในการสตาร์ทเเท่านั้น แต่ยังใช้ในระหว่างการทำงานด้วย พูกง่ายๆก็คือ Starting Toque ของมอเตอร์ไม่สูง แต่โครงสร้างของมันง่ายและเชื่อถือได้ นอกจากนั้น การเชื่อมต่อง่ายมาก เหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้ภายในบ้านและโรงงาน สำหรับมอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำ แบบ ๑ เฟส ต้องแน่ใจว่า ขขาดคอนเดนเซอร์ที่ระบุอยู่บน name plate ต้องเข้ากันได้กับขนาดของมอเตอร์ด้วย
- สำหรับ Induction Motor แบบ ๑ เฟส ไม่สามารถกลับทิศทางการหมุนได้ทันทีภายในระยะเวลาอันสั้นระหว่างที่ยังทำงานอยู่ เพราะว่าค่าแรงบิดเนื่องมาจากแรงเฉื่อยที่ออกแรงสวนทางกับทิศทางการหมุนของมอเตอร์ก็จะต้องถูกเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้น หยุดมอเตอร์เสียก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนทิศทางการหมุนทีหลัง ถ้าหากคุณไม่ทำเช่นนั้น มอเตอร์อาจเสียหายได้
- ต้นกำเนิดพลังงานของมอเตอร์ ๑ เฟสนั้น เป็นดังนี้ U(100V 50/60Hz), C(200V 50/60Hz, 220V 50/60Hz, 230V 50Hz).Refer to (Fig. 1)
- Induction Motor แบบ ๓ เฟสมีการเชื่อมต่อที่ง่ายกว่า ประสิทธิภาพสูงกว่า และ เชื่อถือได้มากกว่า มอเตอร์ ๑ เฟส เพราะว่ามันสามารถถูกขับเคลื่อนได้จากพลังไฟฟ้า ๓ เฟส โดยตรง มอเตอร์ ๓ เฟสใช้กันอย่างแพร่หลายจนกลายเป็นมอเตอร์เอนกประสงค์ ต้นกำเนิดพลังไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์ ๓ เฟสรวมไปถึง H(220V 60Hz,230V 50/60Hz), M(380V 50/60Hz), Z(440V/460V 50/60Hz). Refer to (Fig. 2)
ข้อดีของ Small AC Motor ของ GGM
- สามารถใช้มอเตอร์ทำงานที่มีลักษณะต่อเนื่องได้
- ออกแบบให้ใช้งานในทิศทางเดียว
- จำนวนรอบต่อนาทีของการหมุนของมอเตอร์เปลี่ยนแปลงไปตามโหลดที่นำมันไปใช้
- เหมาะสำหรับงานที่ไม่ต้องการการควบคุมความเร็ว
- ระดับชั้นของฉนวนที่ใช้คือ B
- มาตรฐาน UL ของมอเตอร์ของเราสอดคล้องตามมาตรฐาน Class A
ชนิดของมอเตอร์
- แยกประเภทตามเฟส
มอเตอร์สามารถแยกประเภทออกได้เป็นหลายแบบ แต่โดยทั่วไปแล้ว มักแบ่งแยกตามประเภทไฟฟ้าที่ใช้ หรือ เฟส ซึ่งมี ๑ เฟส และ ๓ เฟส ขึ้นอยู่กับต้นกำเนิดของกระแสไฟฟ้าที่จ่ายมาให้
๑. มอเตอร์ ๑ เฟส
- แหล่งกำเนิดไฟ ๑ เฟส เป็นพลังไหห้าเชิงพาณิชย์สำหรับบ้านที่อยู่อาศัย
- เนื่องจากไฟฟ้าชนิดนี้ลำพังไม่สามารถทำให้มอเตอร์หมุนได้ จึงต้องต่อพ่วงกับ คอนเดนเซอร์ เข้ากับคอยล์ช่วยตอนเริ่มต้นทำงาน
๒. มอเตอร์ ๓ เฟส
- ไฟ ๓ เฟสส่วนใหญ่ใช้ในโรงงานหรืออาคารที่ต้องการพลังไฟฟ้าสูง ไฟมาเป็นแบบ ๓ สาย ด้วยเฟสที่ทำมุมกัน ๑๒๐ องศา
- เมื่อมอเตอร์ต่อเข้กับสายไฟฟ้า เกิดพลังสนามแม่เหล็กขึ้น และมอเตอร์เริ่มทำงาน
- ประสิทธิภาพและค่า Torque ของมอเตอร์เมื่อใช้กับไฟแบบนี้จะมีค่าค่อนข้างสูง
- แยกประเภทตามการใช้งาน
หน้าที่การใช้งาน มอเตอร์สามารถแบ่งออกได้ ๓ ชนิด
๑. มอเตอร์แบบไฟฟ้าเหนี่ยวนำ Induction Motor
- มอเตอร์หมุนทิศทางเดียว
- นี่เป็นตัวแทนรูปแบบของมอเตอร์เหนี่ยวนำขนาดเล็ก ที่สามารถทำงานอย่างต่อเนื่องได้
- มีสองชนิดคือ มอเตอร์เหนี่ยวนำแบบ ๑ เฟสมาพร้อมกับคอนเดนเซอร์ และอีกชนิดหนึ่งคือ ๓ เฟส
- วิธีการ่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟมี ๒ แบบคือแบบสายไฟ ๒ เส้น กับแบบ กล่องขั้วสาย
๒. มอเตอร์ที่มาพร้อมกับหน้าที่ในการเบรค
- นี่เป็นมอเตอร์แบบมีเบรคอิเล็คโทรแมกเนติคแบบไฟดับเบรคติดมาด้วย (แบบ ปลอดภัย)
- มีระบบควบคุมที่เชื่อถือได้ช่วยรับประกันในเรื่องความมีเสถียรภาพของมอเตอร์
- เบรคจะทำงานต่อเมื่อไฟดับ ดังนั้นมอเตอร์นี้จึงสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยแม้จะเกิดปัญหาไฟฟ้าตกหรือดับไป
๓. มอเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมความเร็ว
- แบบเป็นชุด ใช้งานง่าย
มอเตอร์ติดตั้งเข้ากับชุดควบคุมมาเรียบร้อย
- แบบกล่องควบคุม
ตู้ควบคุมแยกออกจากตัวมอเตอร์ ดังนั้น สามารถเลือกแบบของมอเตอร์ และ ตู้ควบคุมตามต้องการ ตามจุดประสงค์การใช้งาน และอื่นๆได้